Home > สาระน่ารู้เกี่ยวกับการวิ่ง |
 |

|
 |
ซ้อมเท่าเดิม แต่กลายเป็นซ้อมมากไป |
โดย อ.เปา ( เวลา 08:30:00) |
 |
NO IMAGES
|
|
ซ้อมเท่าเดิม แต่กลายเป็นซ้อมมากไป
|
|
 |
ร่างกาย..โดยปกติมีกลไกพัฒนาไปสู่ความพอดีอยู่เสมอ ร่างกายจึง....ชอบที่จะพบกับสิ่งใหม่ๆ การซ้อมจึงไม่ควรจำเจ..ซ้ำซาก
การซ้อมจึงคล้ายๆ.....ส่งสิ่งใหม่ให้ร่างกายรับรู้
เมื่อร่างกายรับรู้แล้ว...โดยธรรมชาติมันก็จะปรับตัวเอง เราบังคับได้ยาก
ถ้าประสบการณ์ที่ขี้เกียจมากระทบ....ร่างกายมันก็จะพัฒนาไปทางขี้เกียจ
ถ้าประสบการณ์ที่ขยันมากระทบ....ร่างกายมันก็จะพัฒนาไปทางขยัน
รูปร่างของคนจึงบอกจริตของคนได้ (จริตคือความประพฤติของคนนั่นเอง)
คือเราซ้อมอย่างไรก็ได้อย่างนั้น....ปัญหาว่า
ในแต่ละวันที่ซ้อม เราเริ่มตรงไหน...จบตรงไหน จำเจ ซ้ำซากจริงไหม ? ร่างกายมีขีดจำกัดแค่ไหน ? เราควรหมั่นสังเกตุ
แล้วต้องสังเกตุ "การพัฒนา และ การเสื่อมถอย" ด้วย
อย่ามองด้านเดียว...ต้องมองทั้ง 2 ด้านคือ 1.การพัฒนา และ 2.การเสื่อมถอย
บางทีต้องมองทั้ง 3 ด้านเลยก็คือ ด้านที่ "3.ไม่พัฒนา และ ไม่เสื่อมถอย"
ผมจะยกเป็นตัวอย่าง....การซ้อมเหมือนเดิม(จำเจ)ที่กลายเป็นมากไป
คือเป็นการซ้อมจำเจ และซ้ำซาก ที่แฝงไว้ด้วยการซ้อมที่หนักกว่าเดิม
คือเปรียบเทียบให้เข้าใจเท่านั้น จะขอทำตัวอย่างให้เข้าใจ
สมมุตินักวิ่งแนวหน้าท่านหนึ่งตั้งต้นลงสนามซ้อมวันแรกมีความสามารถ 100 หน่วย
เวลาที่นักวิ่งซ้อมไป 2 ชั่วโมง..ความสามารถเหลือเพียง 70 หน่วย คือใช้ความสามารถไป 30 หน่วย
เวลาเราพักผ่อนนอนหลับ....ร่างกายก็ฟื้นตัว โดยที่เรารู้สึกสดชื่นในตอนเช้า นั่นแปลว่า....การพักผ่อนคือการสร้างสรรค์
ปัญหามันเกิดว่า....พักผ่อนแล้วเราได้ 30 หน่วย กลับมาครบแล้วหรือยัง ?
ตรงนี้แหละที่มันเป็นเหตุให้เราซ้อมมากไป ลองมาดูตัวอย่างต่อไป
ว่าทำไม.....เราก็ไม่รู้ว่าเราฟื้นเต็ม 100 หรือยัง
เราลองมาดูเงื่อนไขก่อนลงสนามซ้อม กับหลังซ้อม ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2
ถ้าสมมุติที่ .1 เราพักผ่อนจนร่างกายกลับมาเต็ม 100 เหมือนเดิม
วันซ้อมถัดไปเราก็ซ้อมตามเดิมได้อีก....เพราะมันก็หายไป 30 แล้วได้ 30 คืนมาครบ อย่างนี้คือจำเจ ซ้ำซาก
สมมุติที่ 2..... แต่....ถ้ามันฟื้นคืนไม่ครบคือฟื้นกลับมาเพียง 20 คือร่างกายขาดทุน
ความฟิตสำหรับวันถัดไปเหลือเพียง 90
การกลับเข้าสนามในวันถัดไป..เรามีต้นทุนที่ 90 หน่วยเสียแล้ว (เห็นหรือไม่ว่า....ไม่จำเจ ไม่ซ้ำซากแล้ว)
แล้วเราก็ซ้อมเหมือนเดิมคือลดลงไป 30 ซ้ำอีก
จบการซ้อมวันนี้...เราเหลือเพียง 60 ต้อง ฟื้นอีก 40 ใช่ไหม ? (แปลว่าเราต้องพักนานขึ้น...แต่เรามักพักเท่าเดิมแล้วลงไปซ้อม)
แต่เราพักผ่อนเท่าเดิม ผลคือเราฟื้นเพียง 20 ตามปกติของการพักผ่อน
การซ้อมในวันถัดไป...เราเข้าสนามไปด้วยสภาพตั้งต้นที่ 80 หน่วย เท่านั้นเอง
เราบอกว่า..เราซ้อมเท่าเดิมคือซ้อมแล้วหายไป 30 หน่วย ไม่มีใครเถียง แต่
"โดยไม่รู้ว่าไม่เท่าเดิมเสียแล้วเพราะ...เรามีสภาพตั้งต้น-ซ้อมหนักกว่าเดิมเกิดขึ้น"
วงจรแบบนี้....มีแต่ลดทอนความสามารถคือทำลายสถิติตนเอง
เรียกแบบเก๋าๆก็คือ "ขยันแต่โง่"...เพราะ
ร่างกายไม่พร้อม...เราเข้าใจว่าพร้อม หรือ.... ร่างกายไม่เต็ม 100 แต่เราเข้าใจว่า 100
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคุณต้องเข้าค่าย และตั้งอยู่ในการควบคุมใกล้ชิด
มีนักวิ่งแนวหน้าที่เข้าสู่สุสานนักวิ่ง...เพราะซ้อมมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ชอบเถียงว่า....ผมก็ซ้อม 10 กม. ทุกวัน ไม่ได้หนักขึ้นเลย คือดูด้านเดียว...ไม่ดูด้านการพักผ่อน
อะไรที่ทำให้การซ้อมกลายเป็นมากไป....ถ้าไม่ใช่การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
นี่คือคำอธิบายว่า...."สูตรแห่งการซ้อม ย่อมมีการพักผ่อนอยู่เสมอ"
เห็นหรือยังว่า....พักผ่อนไม่เพียงพอแปลว่าซ้อมหนักกว่าเดิม !!!
ส่วนทางด้านซ้อมน้อยเกินไป...ลองคิดดูเองเถิด
|
|
|
|
โดย อ.เปา |
http://www.bangkhunthianjoggingclub.com/webboard_ans.php?id=050478 |
|
แสดงความคิดเห็น |
|
 |
|
ไม่มีข้อความแสดงความคิดเห็น |
|
การแสดงความคิดเห็น สำหรับสมาชิกเท่านั้น
สมัครสมาชิกได้ ที่นี่ คลิก
|
|